เตรียมตัวก่อนท่องเที่ยวอินเทอร์เน็ต
วัตถุประสงค์
1. สามารถอธิบายเกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยตนเองได้
2. สามารถอธิบายเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตแบบเชื่อมใช้สายและไร้สายได้
3. สามารถอธิบายประเมินผลการสอนได้
เชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการใช้อินเทอร์เน็ต จะมีบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนจุดเชื่อมผู้ใช้รายน้อยเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเราเรียกบริษัทเหล่านี้ว่า ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider (ISP) ถ้าเราต้องการใช้อินเทอร์เน็ต
เราจะต้องเสียค่าบริการเพื่อเชื่อมต่อกับ ISP
เราสามารถแบ่งการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของเราเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไปและการเชื่อมอินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนานมาก
การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใช้ทั่วไป
ถ้าเราต้องการใช้อินเทอร์เน็ต จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อกับ ISP เราอาจสมัครเป็นสมาชิกโดยเสียค่าบริการรายเดือน
การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้ใช้สายโทรศัพท์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของเรา
เข้ากับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ศัพท์ทางเทคนิคเรียกว่า dial-up connection โดยผ่านอุปกรณ์
เรียกว่า โมเด็ม (Modem) วิธีนี้เหมาะสมสำหรับผู้ใช้ทั่วไป เพราะสายโทรศัพท์นั้นมีอยู่ทั่วไป
และไม่ยุ่งยาก
ภาพที่2.1
การเชื่อมอินเทอร์เน็ตสำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้จำนานมาก
สำหรับองค์กรที่มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์จำนวนมาก
อาจเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้โดยสาย Lease Line
ซึ่งเป็นสายส่งข้อมูลเช่ารายเดือน (วงจรเช่า) เชื่อมตลอดเวลากับผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต
โดยจะเสียค่าบริการรายเดือน
จะเห็นได้ว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เหมาะสำหรับบริษัท หรือหน่วยงานที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หรือต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาเพื่อให้บริการข้อมูลแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น เพราะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบส่วนบุคคลมาก
ภาพที่2.2
การเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อม
ถ้าเราต้องการใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างสมบูรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราควรมีความเร็ว
ในระดับที่ใช้ได้
แนะนำให้ใช้รุ่น Pentium หรือ 16 MB เป็นอย่างต่ำ นอกจากนั้นควรติดตั้งระบบมัลติมีเดีย
ได้แก่ การ์ดเสียง และ ลำโพงไว้ด้วย
โมเด็ม
สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตส่วนบุคคล อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้คือ โมเด็ม
ซึ่งแบ่งออกได้ 2 แบบได้แก่ Internet และแบบ External
ภาพที่2.3
อ้างอิง : พันจันทร์ ธนวัฒนเสถียร. (2537).
อินเทอร์เน็ต พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพฯ : บริษัท ซัคเซส มีเดีย จำกัด.
อ้างอิง : http://successmedia.nalueng.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น